ราชอาณาจักรไทย (ค.ศ. 1940 - ค.ศ. 1945) ของ ผู้นำฝ่ายอักษะระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

รูปชื่อช่วงชีวิตหมายเหตุ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
(King Ananda Mahidol)
20 กันยายน ค.ศ. 1925 - 9 มิถุนายน ค.ศ. 1946พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี (ค.ศ. 1935 - 1946) ระหว่างสงครามทรงประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงวางพระองค์เป็นกลาง หลังสิ้นสงครามจึงเสด็จนิวัติพระนครในช่วงปลายปี ค.ศ. 1945 ทรงเสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืนแต่การเสด็จสวรรคตของพระองค์ยังคงเป็นปริศนา
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(Plaek Pibulsonggram)
14 กรกฎาคม ค.ศ. 1897 - 11 มิถุนายน ค.ศ. 1964จอมพลแห่งกองทัพบกไทย และนายกรัฐมนตรีไทย (ค.ศ. 1938 - 1944) การปกครองในสมัยนี้อยู่ภายในแนวคิดลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจและนโยบายการต่อต้านชาวจีน จอมพล ป. ได้ตัดสินใจนำไทยเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิญี่ปุ่นในปลายปี พ.ศ. 2484 และยอมให้ญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นทางผ่านในการเคลื่อนทัพเข้าสู่พม่าและมลายา เขาได้ลาออกจากนายกรัฐมนตรีในปีค.ศ. 1944
หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์)
(Jarun Rattanakuln Seriroengrit)
27 ตุลาคม ค.ศ. 1895 - 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1983ผู้นำกองทัพพายัพเข้ารุกรานพม่ามีส่วนสำคัญในการก่อตั้งสหรัฐไทยเดิม
ปรีดี พนมยงค์
(Pridi Banomyong)
11 พฤษภาคม ค.ศ. 1900 - 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1983อดีตนักปฏิวัติในคณะราษฎรและรัฐมนตรี ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในปีค.ศ. 1941 โดยในปีค.ศ. 1944 เขาได้กลายเป็นผู้สำเร็จราชการแต่เพียงผู้เดียวและเป็นประมุขแห่งประเทศไทยโดยพฤตินัย แต่ตำแหน่งนี้ก็เป็นเพียงในนาม เขาได้กลายเป็นหัวหน้าของเสรีไทยอย่างลับ ๆ ในปีค.ศ. 1942 และต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปีค.ศ. 1946
ควง อภัยวงศ์
(Khuang Aphaiwong)
17 พฤษภาคม ค.ศ. 1902 - 15 มีนาคม ค.ศ. 1968นายกรัฐมนตรีระหว่างปีค.ศ. 1944 - 1945 ได้ประกาศสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตร

ใกล้เคียง

ผู้นำฝ่ายอักษะระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้นำสูงสุดอิหร่าน ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้นำฝ่ายมหาอำนาจกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ ผู้นำสหภาพโซเวียต ผู้นำเวียดนามใต้ ผู้นำสูงสุดของจีน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร